วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วงเวียนนครบาลเพชรบูรณ์

อนุสรณ์สถานแห่งนี้จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงบุญคุณและอัจฉริยภาพของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และเป็นอนุสรณ์เตือนให้ชาวเพชรบูรณ์เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งของเมืองเพชรบูรณ์ ที่เมื่อพ.ศ.๒๔๘๖-๒๔๘๗ มีการออก
พระราชกำหนดย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เพชรบูรณ์ โดยใช้ชื่อว่านครบาลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่าเพชรบูรณ์นั้นมีเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม มีภูเขาล้อมรอบและมีทางเข้าออกเพียงทางเดียว
ทางรัฐบาลได้ดำเนินการร่างพระราชกำหนดระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ฯ กำหนดให้ราชการบริหารส่วนภูมิภาคจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นนครบาลเพชรบูรณ์ และได้ดำเนินการอพยพราษฎรมาตั้งหลักแหล่งที่เพชรบูรณ์ พร้อมกับย้ายที่ทำการรัฐบาลตลอดจนสถานที่ราชการมาตั้งที่เพชรบูรณ์ แต่เนื่องจากสถานที่ต่างๆนั้นเสื่อมสภาพไปแล้ว ยังคงเหลือแต่เสาหลักเมืองนครบาลฯที่บ้านบุ่งน้ำเต้าอำเภอหล่มสักเท่านั้น
แต่เมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เสนอพระราชกำหนดระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ฯ พ.ศ.๒๔๘๗ ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่ออนุมัติเป็นพระราชบัญญัติ มีผลดำเนินการอย่างถาวรตลอดไป แต่ในที่สุดสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่อนุมัติด้วยคะแนนเสียง ๔๘ ต่อ ๓๖ ด้วยเหตุผลที่ว่า”เพชรบูรณ์เป็นดินแดนกันดาร มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าเขาและมีไข้ป่าชุกชุม” อนุสรณ์นครบาลเพชรบูรณ์แห่งนี้จึงสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุญคุณและอัจฉริยภาพของจอมพล ป.พิบูลสงคราม และเพื่อคนเพชรบูรณ์จะได้ภูมิใจในประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งและความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองตน
เสาหลักเมืองนี้ทำด้วยไม้มงคล ๙ ชนิด ฐานล่างมีลักษณะแปดเหลี่ยม แบ่งไม้มงคลเหลี่ยมละหนึ่งชนิด อีกหนึ่งชนิดอยู่ที่ปลายยอด

ไม่มีความคิดเห็น: